วันอาทิตย์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ขนมอินเดีย

may su
รสชาติเหมือนน้ำอบ แข็งๆ ไม่อร่อยเลย


bala sire
รสชาติหวานๆเลียนๆ


kirem chan chan
รสชาติ หวานๆมันๆ เหมือนหน้ากะทิ มีอัลมอลข้างบน

วันพฤหัสบดีที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

เครื่องเทศไทยไปอังกฤษ

     
       อังกฤษ ปริมาณการส่งออกเครื่องเทศจากไทยเฉลี่ยปี 1999 - 2003 เท่ากับ 3.1 ล้านกิโลกรัม คิดเป็นมูลค่าเฉลี่ย 92 ล้านบาท อัตราการเติบโตเฉลี่ย -5.87 % เครื่องเทศที่มีการส่งออกมากที่สุด ขิง ในปี 2003 มีปริมาณการส่งออกขิง 2.6 ล้านกิโลกรัม หรือ 95 % ของปริมาณการส่งออกเครื่องเทศไปอังกฤษทั้งหมดและคิดเป็นมูลค่า 47 ล้านบาท หรือ 76 % ของมูลค่าการส่งออกเครื่องเทศไทยอังกฤษ
ที่มา : กรมศุลกากร




วิเคราะห์ SWOT Analysis
จุดแข็ง
  • รัฐบาลให้การสนับสนุนในการส่งสินค้าออกไปยังต่างประเทศ มากขึ้น
  • รัฐบาลมีนโยบายอาหารปลอดภัยทำให้เครื่องเทศ ที่ส่งออกมีคุณภาพมากขึ้นได้รับการยอมรับ
  • ประเทศไทยมีลักษณะภูมิประเทศที่เหมาะสมกับการเพาะปลูก  
จุดอ่อน
  • เกษตรกรในไทยไม่มีความรู้ความชำนาญในการเพาะปลูกทำให้ผลผลิตที่ได้ต่ำ
  • ขาดข้อมูลทางวิชาการในการป้องกันกำจัด โรคพืชจึงเป็นอุปสรรคในการส่งออกเครื่องเทศ
  • มีการแปรรูปผลิตภัณฑ์น้อยเนื่องจาก วัตถุดิบไม่เพียงพอและอุตสาหกรรมเครื่องเทศในประเทศไทยยังเป็นอุตสาหกรรมขนาดเล็ก
  • ไม่มีการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์
โอกาส
  • ความต้องการเครื่องเทศของประเทศอังกฤษมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
  • ประเทศอังกฤษ เริ่มมีการเปิดเสรีมากขึ้นส่งผลให้มีการกีดกั้นทางการค้าลดลง
  • ผู้บริโภคในต่างประเทศมีทัศนคติที่ดีต่อผลิตภัณฑ์ที่เป็นธรรมชาติของไทย
อุปสรรค
  • ราคาเครื่องเทศไม่มีความมั่นคงขึ้นกับราคาโลก
  • ผลกระทบที่เกิดจากภัยธรรมชาติต่างๆในไทย เช่น น้ำท่วม
  • ผลกระทบที่เกิดจากศัตรูพืชต่างๆ เช่น แมลง


           วารสารสถาบันอาหาร ปีที่ 6 ฉบับที่ 35 เดือนพฤษภาคม – มิถุนายน 2547 หน้าที่ 24-30

วันอังคารที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ความแตกต่างของ "การค้าระหว่างประเทศ (International trade)" กับ การตลาดระหว่างประเทศ (International marketing)" แก้ไขใหม่

การค้าระหว่างประเทศ (International trade)
      หมายถึง การแลกเปลี่ยนสินค้า และการบริการระหว่างประเทศ ประเทศใดที่จะพยายามผลิตสินค้าและบริการทุกประเภทโดยไม่มีการนำเข้าหรือส่งออก ประเทศนั้นจะพัฒนาได้ช้า และมาตรฐานการครองชีพของประชาชนจะต่ำ ถ้าพิจารณาในแง่ของบุคคลจะช่วยให้เข้าใจง่ายขึ้น กล่าวคือ ถ้าบุคคลพยายามปลูกข้าว ปลูกผัก ปลูกผลไม้ เลี้ยงสัตว์ไว้บริโภคเอง ฟอกหนังสัตว์และเย็บรองเท้าไว้ใช้เอง ปลูกฝ้าย ทอผ้า  เย็บเสื้อผ้าเอง มาตรฐานการครองชีพของประชาชนนั้นจะต่ำมาก เพราะแต่ละประเทศมีทรัพยากร ความชำนาญแตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นระดับบุคคลหรือประเทศ การดำเนินนโยบายช่วยตนเองอย่างสมบูรณ์จึงเป็นไปได้ยากในทาง
ปัจจุบันนี้ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก จำเป็นต้องติดต่อพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน  ประเทศใดที่พยายามจะอยู่อย่างโดดเดี่ยวไม่ติดต่อค้าขายกับต่างประเทศดำเนินนโยบายปิด จะพบว่าการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศนั้นจะเชื่องช้าและมาตรฐานการครองชีพของประชาชนจะอยู่ในระดับต่ำประชาชนต้องบริโภคสินค้าและบริการที่ผลิตได้ในประเทศเท่านั้น  ไม่มีโอกาสที่จะบริโภคสินค้าและบริการที่จำเป็นในการครองชีพ

การตลาดระหว่างประเทศ (International Marketing)
     คือ การดำเนินธุรกิจในตลาดต่างประเทศ โดยปกติแล้วเมื่อธุรกิจมีความอิ่มตัวกับตลาดในประเทศมักจะขยายกิจการโดยการส่งสินค้าหรือบริการไปยังตลาดต่างประเทศด้วย ซึ่งอาจจะเริ่มจากเพียงประเทศเดียวหรือไม่กี่ประเทศก่อนก็ได้ ในที่สุดอาจจะขยายไปได้ถึงระดับโลก


วันอังคารที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ความแตกต่างของ "การค้าระหว่างประเทศ (International trade)" กับ การตลาดระหว่างประเทศ (International marketing)"


การค้าระหว่างประเทศ (International trade)
      หมายถึง การแลกเปลี่ยนสินค้า และการบริการระหว่างประเทศ ประเทศใดที่จะพยายามผลิตสินค้าและบริการทุกประเภทโดยไม่มีการนำเข้าหรือส่งออก ประเทศนั้นจะพัฒนาได้ช้า และมาตรฐานการครองชีพของประชาชนจะต่ำ ถ้าพิจารณาในแง่ของบุคคลจะช่วยให้เข้าใจง่ายขึ้น กล่าวคือ ถ้าบุคคลพยายามปลูกข้าว ปลูกผัก ปลูกผลไม้ เลี้ยงสัตว์ไว้บริโภคเอง ฟอกหนังสัตว์และเย็บรองเท้าไว้ใช้เอง ปลูกฝ้าย ทอผ้า  เย็บเสื้อผ้าเอง มาตรฐานการครองชีพของประชาชนนั้นจะต่ำมาก เพราะแต่ละประเทศมีทรัพยากร ความชำนาญแตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นระดับบุคคลหรือประเทศ การดำเนินนโยบายช่วยตนเองอย่างสมบูรณ์จึงเป็นไปได้ยากในทาง
ปัจจุบันนี้ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก จำเป็นต้องติดต่อพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน  ประเทศใดที่พยายามจะอยู่อย่างโดดเดี่ยวไม่ติดต่อค้าขายกับต่างประเทศดำเนินนโยบายปิด จะพบว่าการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศนั้นจะเชื่องช้าและมาตรฐานการครองชีพของประชาชนจะอยู่ในระดับต่ำประชาชนต้องบริโภคสินค้าและบริการที่ผลิตได้ในประเทศเท่านั้น  ไม่มีโอกาสที่จะบริโภคสินค้าและบริการที่จำเป็นในการครองชีพ
 ประโยชน์ของการค้าระหว่างประเทศ
     
ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจแบบเปิดมีการติดต่อค้าขายกับนานาประเทศอย่างกว้างขวางภายใต้ระบบเศรษฐกิจเปิดการค้าระหว่างประเทศ จะก่อให้เกิดผลดีต่อระบบเศรษฐกิจหลายประการ ดังนี้
   1. การแบ่งงานกันทำ (Division of Labor) เมื่อมีการติดต่อค้าขายระหว่างประเทศแต่ละประเทศจะเลือกผลิตสินค้าที่ตนถนัด เช่น ไทย เลือกผลิตข้าว มันสำปะหลัง สิ่งทอ ญี่ปุ่น จะเลือกผลิตเครื่องยนต์ อุปกรณ์ไฟฟ้า เป็นต้น
   2. ความชำนาญเป็นพิเศษ (Specialization) การผลิตสินค้าที่ถนัดอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานๆ จะก่อให้เกิดความชำนาญ
   3. ประสิทธิภาพ (Productivity) การผลิตสินค้าด้วยความชำนาญทำให้สินค้ามีคุณภาพสูง
   4. ปัจจัยการผลิตเอื้ออำนวย (Factors Endowment) แต่ละประเทศจะเลือกผลิตสินค้าที่สามารถใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ในประเทศอย่างเหมาะสม

สาเหตุที่สำคัญที่ทำให้เกิดการค้าระหว่างประเทศ
1. ปริมาณและชนิดของปัจจัยการผลิต
     การค้าระหว่างประเทศ เกิดขึ้นเนื่องจากประเทศต่างๆ มีปัจจัยหรือทรัพยากรการผลิตในปริมาณไม่เท่ากัน หรือไม่
เหมือนกัน ปัจจัยการผลิตใด  ถ้ามีมากจะมีผลทำให้ราคาปัจจัยนั้นต่ำและจะส่งผลทำให้ต้นทุนการผลิต และราคาสินค้า
ต่ำลงไปด้วย


       http://www.ismed.or.th/SME/src/upload/knowledge/1181536814466cd22e01d2f.pdf
2. ความเหมาะสมของปัจจัยการผลิต  ปัจจัยการผลิตมิได้มีคุณสมบัติเหมือนกันทั้งหมด เช่น ประเทศที่มีแรงงานมาก มิได้หมายความว่า จะต้องสามารถผลิตและส่งออกสินค้าทุกชนิดที่เน้นแรงงาน สินค้าบางชนิดต้องการแรงงานที่มีประสิทธิภาพ หรือความชำนาญเป็นพิเศษ
3. ปริมาณการผลิต
     การผลิตในปริมาณมาก จะมีผลทำให้ต้นทุนในการผลิตลดลง แต่การผลิตในปริมาณมาก ๆ นั้น จะต้องมีตลาดรองรับผลผลิต ตลาดภายในประเทศ อาจจะมีขนาดไม่ใหญ่พอที่จะรองรับผลผลิตทั้งหมดได้ จึงต้องมีตลาดต่างประเทศไว้รองรับผลผลิตส่วนเกิน
4. ต้นทุนการขนส่ง ค่าขนส่งวัตถุดิบ และค่าขนส่งสินค้าสำเร็จรูป
     เป็นต้นทุนส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของสินค้า ดังนั้นความแตกต่างในต้นทุนการขนส่งจะก่อให้เกิดความแตกต่างในราคาสินค้าเปรียบเทียบ ซึ่งเป็นบ่อเกิดแห่งการค้าระหว่างประเทศ


การตลาดระหว่างประเทศ (International Marketing)
     คือ การดำเนินธุรกิจในตลาดต่างประเทศ โดยปกติแล้วเมื่อธุรกิจมีความอิ่มตัวกับตลาดในประเทศมักจะขยายกิจการโดยการส่งสินค้าหรือบริการไปยังตลาดต่างประเทศด้วย ซึ่งอาจจะเริ่มจากเพียงประเทศเดียวหรือไม่กี่ประเทศก่อนก็ได้ ในที่สุดอาจจะขยายไปได้ถึงระดับโลก

ข้อดีและข้อเสียของการตลาดระหว่างประเทศ

ข้อดี คือ
1. ทำให้ประเทศสามารถจำหน่ายผลผลิตส่วนเกินจากการบริโภคภายในประเทศสู่ผู้บริโภคในประเทศอื่น ทำให้เกิดรายได้เข้าประเทศและส่งผลต่อมาตรฐานการครองชีพที่ดีของประชาชน
2. ทำให้ได้รู้จักผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ที่ไม่สามารถผลิตได้ในประเทศ ทำให้ประชาชนได้ใช้ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยอำนวยความสะดวกสบายเหล่านั้น ซึ่งถ้าไม่มีการนำเข้าจากต่างประเทศประชาชนจะเสียโอกาสไป
3. ทำให้เกิดการพัฒนาของผู้ผลิตภายในประเทศต่อเทคโนโลยีใหม่ ๆ รวมทั้งผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ซึ่งมีผลต่อความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจสังคมและการเมืองทั้งโดยทางตรงและโดยทางอ้อม
4. ทำให้ประชาชนได้ใช้สินค้าคุณภาพดีในราคาถูก กล่าวคือแต่ละประเทศอาจไม่สามารถผลิตสินค้าได้ทุกชนิด เนื่องจากความชำนาญของแต่ละประเทศในการผลิตสินค้าแต่ละชนิดไม่เหมือนกัน บางประเทศอาจผลิตสินค้าหนึ่งได้ดีและต้นทุนต่ำ ส่วนอีกประเทศอาจผลิตสินค้าชนิดอื่นได้ดีและต้นทุนต่ำ การที่ทั้งสองประเทศจะเลือกผลิตสินค้าที่ตนมีความชำนาญ และมีการขายหรือแลกเปลี่ยนกันจะเป็นประโยชน์ต่อทั้งสองประเทศมากกว่า
ข้อเสีย คือ
1. ทำให้เกิดการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ ซึ่งถ้าเกิดการไม่สมดุลโดยมีการนำเข้ามากกว่าการส่งออกอย่างต่อเนื่อง จะทำให้ประเทศขาดดุลการค้าและนำไปสู่การขาดดุลชำระเงินส่งผลไปยังเสถียรภาพเงินตราและทำให้เศรษฐกิจของประเทศเสียหายในที่สุด
2. สินค้าและบริการใหม่ ๆ จากต่างประเทศส่วนหนึ่งอาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในด้านรูปแบบการดำรงชีวิต ตลอดจนมีผลกระทบต่อวัฒนธรรมประเพณีซึ่งอาจเป็นผลเสียต่อชีวิตประจำวันของประชาชนรวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างกันในรูปแบบดั้งเดิมของทั้งสองประเทศที่มีอยู่เดิมให้เปลี่ยนแปลงไป
3. บางครั้งผู้ผลิตอาจให้ความสำคัญกับตลาดในต่างประเทศมากกว่าตลาดภายในประเทศ ซึ่งอาจก่อให้เกิดการขาดแคลนสินค้าภายในประเทศ ทำให้รัฐต้องคอยแทรกแซงหรือควบคุมการนำเข้าและการส่งออก

ที่มา
http://webboard.royalmarine.co.th/index.php?page=view&wb_id=6
http://wanida-parena.blogspot.com/2010/02/blog-post_5204.html

วันจันทร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ประเทศอังกฤษ

ภูมิประเทศสหราชอาณาจักรอังกฤษ

   เป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในทวีปยุโรป และเป็นอีกประเทศที่ได้รับความนิยมจากนักศึกษาต่างชาติในการไปศึกษาต่อ เนื่องมาจากภูมิประเทศที่สวยงาม มีความเจริญทางด้านวัฒนธรรม อุตสาหกรรม ความมีคุณภาพของการศึกษา และการเป็นศูนย์รวมแหล่งวัฒนธรรม
คำว่า สหราชอาณาจักร หรือ United Kingdom หมายถึง เกาะใหญ่ - Great Britain และแคว้นไอร์แลนด์เหนือ - Northern Island โดย Great Britain หมายถึงเกาะใหญ่ซึ่งรวมถึงอาณาเขตของ อังกฤษ - England, เวลส์ - Wales และสก๊อตแลนด์ - Scotland ดังนั้น คำว่าสหราชอาณาจักร จึงหมายถึงประเทศที่รวมอาณาเขตของ 4 ประเทศเข้าด้วยกันคือ
1. ประเทศอังกฤษ: เมืองหลวงคือเมือง London และใช้ภาษาอังกฤษ
2. ประเทศเวลส์ : เมืองหลวงคือเมือง Cardiff และใช้ภาษาอังกฤษ เวลส์
3. ประเทศสก๊อตแลนด์ : เมืองหลวงคือเมือง Edinburgh และใช้ภาษาอังกฤษ กาลิค
4. ประเทศไอร์แลนด์เหนือ : เมืองหลวงคือเมือง Belfast และใช้ภาษาอังกฤษ ไอริช สหราชอาณาจักรมีเนื้อที่โดยรวมประมาณ 244,046 ตารางกิโลเมตร

ประชากร ปัจจุบัน สหราชอาณาจักรมีประชากรรวมทั้งสิ้นประมาณ 64 ล้านคน ประชากรทั้งประเทศพูดภาษาอังกฤษแต่ก็มีสำเนียงที่แตกต่างกันไป ซึ่งผู้ฟังสามารถรู้ได้โดยทันที ว่ามาจากส่วนไหนของประเทศ
ภูมิอากาศและฤดูกาล สภาพภูมิอากาศโดยทั่วไปของสหราชอาณาจักร จัดอยู่ในประเภทค่อนข้างหนาวและมีความชื้นสูง เนื่องจากมีสภาพภูมิประเทศเป็นเกาะ มีกระแสน้ำอุ่นและน้ำเย็นไหลผ่าน โดยทางตอนเหนือจะหนาวมากกว่าทางตอนใต้ และจะมีฝนตกทางภาคตะวันตกมากกว่าทางภาคตะวันออก อุณหภูมิเฉลี่ยต่ำสุดในช่วงฤดูหนาวคือ 2-4 องศาเซลเซียส และสูงสุดในช่วงฤดูร้อนคือ 18-22 องศาเซลเซียส
ประเทศสหราชอาณาจักรมี ฤดูกาลทั้งหมด 4 ฤดูคือ
ฤดูใบไม้ผลิ : เดือนมีนาคม-พฤษภาคม
ฤดูร้อน : เดือนมิถุนายน-สิงหาคม
ฤดูใบไม้ร่วง : เดือนกันยายน-พฤศจิกายน
ฤดูหนาว : เดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์

เวลา ประเทศอังกฤษเป็นที่ตั้งของเส้นแบ่งเขตเวลาของโลก (GMT - Greenwich Mean Time) ดังนั้นประเทศไทยซึ่งตั้งอยู่ทางด้านตะวันออก จึงมีเวลาที่เร็วกว่า โดยเร็วกว่าประมาณ 6 ชั่วโมง (ในช่วงปลายเดือนมีนาคม - ปลายเดือนตุลาคม) หรือ 7 ชั่วโมง (ในช่วงปลายเดือนตุลาคม - ปลายเดือนมีนาคม)
การปกครอง ระบบการปกครองของสหราชอาณาจักรคือระบบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา โดยมีควีนอลิซาเบธที่ 2 เป็นประมุขของประเทศ และมีนาย โทนี่ แบร์ ดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน
รัฐสภาของอังกฤษ แบ่งเป็น 2 สภา คือ สภาขุนนาง (House of Lords) และสภาล่าง (House of Commons) การแต่งตั้งรัฐบาลอยู่ในความรับผิดชอบของสภาล่าง และสำหรับสภาสูงมีหน้าที่สำคัญในการกลั่นกรองกฎหมาย ตรวจสอบระบบการเมือง

เมืองที่สำคัญ เมืองขนาดใหญ่และเป็นเมืองที่มีความสำคัญของสหราชอาณาจักร คือ