วันอาทิตย์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2554

ตอบคำถาม

จงเสนอแนะวิธีการทำการตลาดระหว่างประเทศให้ทั้ง 2 ธุรกิจ
ฟูจิ
1.สร้างผลิตภัณฑ์ทั้งด้านโรงแรม และอาหารให้เป็นที่ไว้ว่าใจแก่ผู้บริโภค
2.จัดการประชาสัมพันธ์ให้เป็นที่รู้จักอย่างแผ่หลาย
3.หาตลาดเป้าหมายที่คาดว่าจะสามารถทำการตลาดได้ในต่างประเทศ
4.จัดโปรโมชั่นให้ผู้บริโภครายใหม่ได้รู้จัก และเข้ามาใช้บริการ
5.ศึกษาการทำการตลาดของคู่แข่ง เพื่อนำมาปรับใช้ในธุรกิจ
เอ็มเค
1.สร้างความไว้วางใจให้แก่ลูกค้า ในเรื่องความสะอาด มาตราฐานต่างๆ
2.จัดกิจกรรมหรือเคมเปญ เพื่อให้ผู้บริโภคได้ร่วมสนุก
3.ศึกษาสถานที่จัดจำหน่ายในต่างประเทศ
4.จัดการประชาสัมพันธ์ในต่างประเทศ ให้เป็นที่รู้จัก

วันอาทิตย์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ขนมอินเดีย

may su
รสชาติเหมือนน้ำอบ แข็งๆ ไม่อร่อยเลย


bala sire
รสชาติหวานๆเลียนๆ


kirem chan chan
รสชาติ หวานๆมันๆ เหมือนหน้ากะทิ มีอัลมอลข้างบน

วันพฤหัสบดีที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

เครื่องเทศไทยไปอังกฤษ

     
       อังกฤษ ปริมาณการส่งออกเครื่องเทศจากไทยเฉลี่ยปี 1999 - 2003 เท่ากับ 3.1 ล้านกิโลกรัม คิดเป็นมูลค่าเฉลี่ย 92 ล้านบาท อัตราการเติบโตเฉลี่ย -5.87 % เครื่องเทศที่มีการส่งออกมากที่สุด ขิง ในปี 2003 มีปริมาณการส่งออกขิง 2.6 ล้านกิโลกรัม หรือ 95 % ของปริมาณการส่งออกเครื่องเทศไปอังกฤษทั้งหมดและคิดเป็นมูลค่า 47 ล้านบาท หรือ 76 % ของมูลค่าการส่งออกเครื่องเทศไทยอังกฤษ
ที่มา : กรมศุลกากร




วิเคราะห์ SWOT Analysis
จุดแข็ง
  • รัฐบาลให้การสนับสนุนในการส่งสินค้าออกไปยังต่างประเทศ มากขึ้น
  • รัฐบาลมีนโยบายอาหารปลอดภัยทำให้เครื่องเทศ ที่ส่งออกมีคุณภาพมากขึ้นได้รับการยอมรับ
  • ประเทศไทยมีลักษณะภูมิประเทศที่เหมาะสมกับการเพาะปลูก  
จุดอ่อน
  • เกษตรกรในไทยไม่มีความรู้ความชำนาญในการเพาะปลูกทำให้ผลผลิตที่ได้ต่ำ
  • ขาดข้อมูลทางวิชาการในการป้องกันกำจัด โรคพืชจึงเป็นอุปสรรคในการส่งออกเครื่องเทศ
  • มีการแปรรูปผลิตภัณฑ์น้อยเนื่องจาก วัตถุดิบไม่เพียงพอและอุตสาหกรรมเครื่องเทศในประเทศไทยยังเป็นอุตสาหกรรมขนาดเล็ก
  • ไม่มีการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์
โอกาส
  • ความต้องการเครื่องเทศของประเทศอังกฤษมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
  • ประเทศอังกฤษ เริ่มมีการเปิดเสรีมากขึ้นส่งผลให้มีการกีดกั้นทางการค้าลดลง
  • ผู้บริโภคในต่างประเทศมีทัศนคติที่ดีต่อผลิตภัณฑ์ที่เป็นธรรมชาติของไทย
อุปสรรค
  • ราคาเครื่องเทศไม่มีความมั่นคงขึ้นกับราคาโลก
  • ผลกระทบที่เกิดจากภัยธรรมชาติต่างๆในไทย เช่น น้ำท่วม
  • ผลกระทบที่เกิดจากศัตรูพืชต่างๆ เช่น แมลง


           วารสารสถาบันอาหาร ปีที่ 6 ฉบับที่ 35 เดือนพฤษภาคม – มิถุนายน 2547 หน้าที่ 24-30

วันอังคารที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ความแตกต่างของ "การค้าระหว่างประเทศ (International trade)" กับ การตลาดระหว่างประเทศ (International marketing)" แก้ไขใหม่

การค้าระหว่างประเทศ (International trade)
      หมายถึง การแลกเปลี่ยนสินค้า และการบริการระหว่างประเทศ ประเทศใดที่จะพยายามผลิตสินค้าและบริการทุกประเภทโดยไม่มีการนำเข้าหรือส่งออก ประเทศนั้นจะพัฒนาได้ช้า และมาตรฐานการครองชีพของประชาชนจะต่ำ ถ้าพิจารณาในแง่ของบุคคลจะช่วยให้เข้าใจง่ายขึ้น กล่าวคือ ถ้าบุคคลพยายามปลูกข้าว ปลูกผัก ปลูกผลไม้ เลี้ยงสัตว์ไว้บริโภคเอง ฟอกหนังสัตว์และเย็บรองเท้าไว้ใช้เอง ปลูกฝ้าย ทอผ้า  เย็บเสื้อผ้าเอง มาตรฐานการครองชีพของประชาชนนั้นจะต่ำมาก เพราะแต่ละประเทศมีทรัพยากร ความชำนาญแตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นระดับบุคคลหรือประเทศ การดำเนินนโยบายช่วยตนเองอย่างสมบูรณ์จึงเป็นไปได้ยากในทาง
ปัจจุบันนี้ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก จำเป็นต้องติดต่อพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน  ประเทศใดที่พยายามจะอยู่อย่างโดดเดี่ยวไม่ติดต่อค้าขายกับต่างประเทศดำเนินนโยบายปิด จะพบว่าการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศนั้นจะเชื่องช้าและมาตรฐานการครองชีพของประชาชนจะอยู่ในระดับต่ำประชาชนต้องบริโภคสินค้าและบริการที่ผลิตได้ในประเทศเท่านั้น  ไม่มีโอกาสที่จะบริโภคสินค้าและบริการที่จำเป็นในการครองชีพ

การตลาดระหว่างประเทศ (International Marketing)
     คือ การดำเนินธุรกิจในตลาดต่างประเทศ โดยปกติแล้วเมื่อธุรกิจมีความอิ่มตัวกับตลาดในประเทศมักจะขยายกิจการโดยการส่งสินค้าหรือบริการไปยังตลาดต่างประเทศด้วย ซึ่งอาจจะเริ่มจากเพียงประเทศเดียวหรือไม่กี่ประเทศก่อนก็ได้ ในที่สุดอาจจะขยายไปได้ถึงระดับโลก


วันอังคารที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ความแตกต่างของ "การค้าระหว่างประเทศ (International trade)" กับ การตลาดระหว่างประเทศ (International marketing)"


การค้าระหว่างประเทศ (International trade)
      หมายถึง การแลกเปลี่ยนสินค้า และการบริการระหว่างประเทศ ประเทศใดที่จะพยายามผลิตสินค้าและบริการทุกประเภทโดยไม่มีการนำเข้าหรือส่งออก ประเทศนั้นจะพัฒนาได้ช้า และมาตรฐานการครองชีพของประชาชนจะต่ำ ถ้าพิจารณาในแง่ของบุคคลจะช่วยให้เข้าใจง่ายขึ้น กล่าวคือ ถ้าบุคคลพยายามปลูกข้าว ปลูกผัก ปลูกผลไม้ เลี้ยงสัตว์ไว้บริโภคเอง ฟอกหนังสัตว์และเย็บรองเท้าไว้ใช้เอง ปลูกฝ้าย ทอผ้า  เย็บเสื้อผ้าเอง มาตรฐานการครองชีพของประชาชนนั้นจะต่ำมาก เพราะแต่ละประเทศมีทรัพยากร ความชำนาญแตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นระดับบุคคลหรือประเทศ การดำเนินนโยบายช่วยตนเองอย่างสมบูรณ์จึงเป็นไปได้ยากในทาง
ปัจจุบันนี้ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก จำเป็นต้องติดต่อพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน  ประเทศใดที่พยายามจะอยู่อย่างโดดเดี่ยวไม่ติดต่อค้าขายกับต่างประเทศดำเนินนโยบายปิด จะพบว่าการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศนั้นจะเชื่องช้าและมาตรฐานการครองชีพของประชาชนจะอยู่ในระดับต่ำประชาชนต้องบริโภคสินค้าและบริการที่ผลิตได้ในประเทศเท่านั้น  ไม่มีโอกาสที่จะบริโภคสินค้าและบริการที่จำเป็นในการครองชีพ
 ประโยชน์ของการค้าระหว่างประเทศ
     
ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจแบบเปิดมีการติดต่อค้าขายกับนานาประเทศอย่างกว้างขวางภายใต้ระบบเศรษฐกิจเปิดการค้าระหว่างประเทศ จะก่อให้เกิดผลดีต่อระบบเศรษฐกิจหลายประการ ดังนี้
   1. การแบ่งงานกันทำ (Division of Labor) เมื่อมีการติดต่อค้าขายระหว่างประเทศแต่ละประเทศจะเลือกผลิตสินค้าที่ตนถนัด เช่น ไทย เลือกผลิตข้าว มันสำปะหลัง สิ่งทอ ญี่ปุ่น จะเลือกผลิตเครื่องยนต์ อุปกรณ์ไฟฟ้า เป็นต้น
   2. ความชำนาญเป็นพิเศษ (Specialization) การผลิตสินค้าที่ถนัดอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานๆ จะก่อให้เกิดความชำนาญ
   3. ประสิทธิภาพ (Productivity) การผลิตสินค้าด้วยความชำนาญทำให้สินค้ามีคุณภาพสูง
   4. ปัจจัยการผลิตเอื้ออำนวย (Factors Endowment) แต่ละประเทศจะเลือกผลิตสินค้าที่สามารถใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ในประเทศอย่างเหมาะสม

สาเหตุที่สำคัญที่ทำให้เกิดการค้าระหว่างประเทศ
1. ปริมาณและชนิดของปัจจัยการผลิต
     การค้าระหว่างประเทศ เกิดขึ้นเนื่องจากประเทศต่างๆ มีปัจจัยหรือทรัพยากรการผลิตในปริมาณไม่เท่ากัน หรือไม่
เหมือนกัน ปัจจัยการผลิตใด  ถ้ามีมากจะมีผลทำให้ราคาปัจจัยนั้นต่ำและจะส่งผลทำให้ต้นทุนการผลิต และราคาสินค้า
ต่ำลงไปด้วย


       http://www.ismed.or.th/SME/src/upload/knowledge/1181536814466cd22e01d2f.pdf
2. ความเหมาะสมของปัจจัยการผลิต  ปัจจัยการผลิตมิได้มีคุณสมบัติเหมือนกันทั้งหมด เช่น ประเทศที่มีแรงงานมาก มิได้หมายความว่า จะต้องสามารถผลิตและส่งออกสินค้าทุกชนิดที่เน้นแรงงาน สินค้าบางชนิดต้องการแรงงานที่มีประสิทธิภาพ หรือความชำนาญเป็นพิเศษ
3. ปริมาณการผลิต
     การผลิตในปริมาณมาก จะมีผลทำให้ต้นทุนในการผลิตลดลง แต่การผลิตในปริมาณมาก ๆ นั้น จะต้องมีตลาดรองรับผลผลิต ตลาดภายในประเทศ อาจจะมีขนาดไม่ใหญ่พอที่จะรองรับผลผลิตทั้งหมดได้ จึงต้องมีตลาดต่างประเทศไว้รองรับผลผลิตส่วนเกิน
4. ต้นทุนการขนส่ง ค่าขนส่งวัตถุดิบ และค่าขนส่งสินค้าสำเร็จรูป
     เป็นต้นทุนส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของสินค้า ดังนั้นความแตกต่างในต้นทุนการขนส่งจะก่อให้เกิดความแตกต่างในราคาสินค้าเปรียบเทียบ ซึ่งเป็นบ่อเกิดแห่งการค้าระหว่างประเทศ


การตลาดระหว่างประเทศ (International Marketing)
     คือ การดำเนินธุรกิจในตลาดต่างประเทศ โดยปกติแล้วเมื่อธุรกิจมีความอิ่มตัวกับตลาดในประเทศมักจะขยายกิจการโดยการส่งสินค้าหรือบริการไปยังตลาดต่างประเทศด้วย ซึ่งอาจจะเริ่มจากเพียงประเทศเดียวหรือไม่กี่ประเทศก่อนก็ได้ ในที่สุดอาจจะขยายไปได้ถึงระดับโลก

ข้อดีและข้อเสียของการตลาดระหว่างประเทศ

ข้อดี คือ
1. ทำให้ประเทศสามารถจำหน่ายผลผลิตส่วนเกินจากการบริโภคภายในประเทศสู่ผู้บริโภคในประเทศอื่น ทำให้เกิดรายได้เข้าประเทศและส่งผลต่อมาตรฐานการครองชีพที่ดีของประชาชน
2. ทำให้ได้รู้จักผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ที่ไม่สามารถผลิตได้ในประเทศ ทำให้ประชาชนได้ใช้ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยอำนวยความสะดวกสบายเหล่านั้น ซึ่งถ้าไม่มีการนำเข้าจากต่างประเทศประชาชนจะเสียโอกาสไป
3. ทำให้เกิดการพัฒนาของผู้ผลิตภายในประเทศต่อเทคโนโลยีใหม่ ๆ รวมทั้งผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ซึ่งมีผลต่อความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจสังคมและการเมืองทั้งโดยทางตรงและโดยทางอ้อม
4. ทำให้ประชาชนได้ใช้สินค้าคุณภาพดีในราคาถูก กล่าวคือแต่ละประเทศอาจไม่สามารถผลิตสินค้าได้ทุกชนิด เนื่องจากความชำนาญของแต่ละประเทศในการผลิตสินค้าแต่ละชนิดไม่เหมือนกัน บางประเทศอาจผลิตสินค้าหนึ่งได้ดีและต้นทุนต่ำ ส่วนอีกประเทศอาจผลิตสินค้าชนิดอื่นได้ดีและต้นทุนต่ำ การที่ทั้งสองประเทศจะเลือกผลิตสินค้าที่ตนมีความชำนาญ และมีการขายหรือแลกเปลี่ยนกันจะเป็นประโยชน์ต่อทั้งสองประเทศมากกว่า
ข้อเสีย คือ
1. ทำให้เกิดการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ ซึ่งถ้าเกิดการไม่สมดุลโดยมีการนำเข้ามากกว่าการส่งออกอย่างต่อเนื่อง จะทำให้ประเทศขาดดุลการค้าและนำไปสู่การขาดดุลชำระเงินส่งผลไปยังเสถียรภาพเงินตราและทำให้เศรษฐกิจของประเทศเสียหายในที่สุด
2. สินค้าและบริการใหม่ ๆ จากต่างประเทศส่วนหนึ่งอาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในด้านรูปแบบการดำรงชีวิต ตลอดจนมีผลกระทบต่อวัฒนธรรมประเพณีซึ่งอาจเป็นผลเสียต่อชีวิตประจำวันของประชาชนรวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างกันในรูปแบบดั้งเดิมของทั้งสองประเทศที่มีอยู่เดิมให้เปลี่ยนแปลงไป
3. บางครั้งผู้ผลิตอาจให้ความสำคัญกับตลาดในต่างประเทศมากกว่าตลาดภายในประเทศ ซึ่งอาจก่อให้เกิดการขาดแคลนสินค้าภายในประเทศ ทำให้รัฐต้องคอยแทรกแซงหรือควบคุมการนำเข้าและการส่งออก

ที่มา
http://webboard.royalmarine.co.th/index.php?page=view&wb_id=6
http://wanida-parena.blogspot.com/2010/02/blog-post_5204.html

วันจันทร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ประเทศอังกฤษ

ภูมิประเทศสหราชอาณาจักรอังกฤษ

   เป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในทวีปยุโรป และเป็นอีกประเทศที่ได้รับความนิยมจากนักศึกษาต่างชาติในการไปศึกษาต่อ เนื่องมาจากภูมิประเทศที่สวยงาม มีความเจริญทางด้านวัฒนธรรม อุตสาหกรรม ความมีคุณภาพของการศึกษา และการเป็นศูนย์รวมแหล่งวัฒนธรรม
คำว่า สหราชอาณาจักร หรือ United Kingdom หมายถึง เกาะใหญ่ - Great Britain และแคว้นไอร์แลนด์เหนือ - Northern Island โดย Great Britain หมายถึงเกาะใหญ่ซึ่งรวมถึงอาณาเขตของ อังกฤษ - England, เวลส์ - Wales และสก๊อตแลนด์ - Scotland ดังนั้น คำว่าสหราชอาณาจักร จึงหมายถึงประเทศที่รวมอาณาเขตของ 4 ประเทศเข้าด้วยกันคือ
1. ประเทศอังกฤษ: เมืองหลวงคือเมือง London และใช้ภาษาอังกฤษ
2. ประเทศเวลส์ : เมืองหลวงคือเมือง Cardiff และใช้ภาษาอังกฤษ เวลส์
3. ประเทศสก๊อตแลนด์ : เมืองหลวงคือเมือง Edinburgh และใช้ภาษาอังกฤษ กาลิค
4. ประเทศไอร์แลนด์เหนือ : เมืองหลวงคือเมือง Belfast และใช้ภาษาอังกฤษ ไอริช สหราชอาณาจักรมีเนื้อที่โดยรวมประมาณ 244,046 ตารางกิโลเมตร

ประชากร ปัจจุบัน สหราชอาณาจักรมีประชากรรวมทั้งสิ้นประมาณ 64 ล้านคน ประชากรทั้งประเทศพูดภาษาอังกฤษแต่ก็มีสำเนียงที่แตกต่างกันไป ซึ่งผู้ฟังสามารถรู้ได้โดยทันที ว่ามาจากส่วนไหนของประเทศ
ภูมิอากาศและฤดูกาล สภาพภูมิอากาศโดยทั่วไปของสหราชอาณาจักร จัดอยู่ในประเภทค่อนข้างหนาวและมีความชื้นสูง เนื่องจากมีสภาพภูมิประเทศเป็นเกาะ มีกระแสน้ำอุ่นและน้ำเย็นไหลผ่าน โดยทางตอนเหนือจะหนาวมากกว่าทางตอนใต้ และจะมีฝนตกทางภาคตะวันตกมากกว่าทางภาคตะวันออก อุณหภูมิเฉลี่ยต่ำสุดในช่วงฤดูหนาวคือ 2-4 องศาเซลเซียส และสูงสุดในช่วงฤดูร้อนคือ 18-22 องศาเซลเซียส
ประเทศสหราชอาณาจักรมี ฤดูกาลทั้งหมด 4 ฤดูคือ
ฤดูใบไม้ผลิ : เดือนมีนาคม-พฤษภาคม
ฤดูร้อน : เดือนมิถุนายน-สิงหาคม
ฤดูใบไม้ร่วง : เดือนกันยายน-พฤศจิกายน
ฤดูหนาว : เดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์

เวลา ประเทศอังกฤษเป็นที่ตั้งของเส้นแบ่งเขตเวลาของโลก (GMT - Greenwich Mean Time) ดังนั้นประเทศไทยซึ่งตั้งอยู่ทางด้านตะวันออก จึงมีเวลาที่เร็วกว่า โดยเร็วกว่าประมาณ 6 ชั่วโมง (ในช่วงปลายเดือนมีนาคม - ปลายเดือนตุลาคม) หรือ 7 ชั่วโมง (ในช่วงปลายเดือนตุลาคม - ปลายเดือนมีนาคม)
การปกครอง ระบบการปกครองของสหราชอาณาจักรคือระบบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา โดยมีควีนอลิซาเบธที่ 2 เป็นประมุขของประเทศ และมีนาย โทนี่ แบร์ ดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน
รัฐสภาของอังกฤษ แบ่งเป็น 2 สภา คือ สภาขุนนาง (House of Lords) และสภาล่าง (House of Commons) การแต่งตั้งรัฐบาลอยู่ในความรับผิดชอบของสภาล่าง และสำหรับสภาสูงมีหน้าที่สำคัญในการกลั่นกรองกฎหมาย ตรวจสอบระบบการเมือง

เมืองที่สำคัญ เมืองขนาดใหญ่และเป็นเมืองที่มีความสำคัญของสหราชอาณาจักร คือ